วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

คำศัพท์ที่ควรรู้

Financial Document
ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้
ดราฟต์ (Demand Draft) คือตราสารทางการเงิน หรือ ตั๋วแลกเงินของธนาคาร ที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นผู้ออกและสั่งให้ธนาคารตัวแทน (Correspondent Bank) หรือสาขาของตนในต่างประเทศจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุในดราฟต์ ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ที่มีชื่อระบุไว้บนดราฟต์
        ตั๋วแลกเงินหรือดราฟต์ (Bill of Exchange or Drafts) ในกรณีนี้ผู้ออกตั๋วเป็นผู้สั่งให้อีกบุคคลหนึ่งจ่ายให้แก่ตน หรือจ่ายให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งตามคำสั่ง โดยที่ตั๋วแลกเงินนั้นก็คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้จ่ายให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในกรณีตั๋วแลกเงินนั้นมีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องถึงสามฝ่ายด้วยกันคือ ผู้สั่งจ่าย (Drawer) ผู้รับคำสั่งให้จ่ายหรือผู้จ่าย (Drawee) และผู้รับเงิน (Payee ) แต่ในบางกรณีอาจจะมีเพียงสองฝ่ายก็ได้ คือ ผู้สั่งจ่ายและผู้รับเงินเป็นบุคคลเดียวกัน
        ตั๋วแลกเงินแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ตั๋วแลกเงินภายในประเทศ และตั๋วแลกเงินต่างประเทศ สำหรับตั๋วแลกเงินต่างประเทศ ตั๋วแลกเงินจะบังคับได้ในกรณีผู้ถูกสั่งให้จ่ายหรือผู้จ่ายต้องได้มีการรับรองการจ่ายเงิน (Accepted) บนหนังสือตราสารนั้น
        ตั๋วแลกเงินสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
         (1) แยกตามลักษณะของผู้จ่ายเงิน (Drawee) ในกรณีที่สั่งให้ธนาคารเป็นผู้จ่ายเรียกว่า ตั๋วแลกเงินธนาคาร (Bank Draft หรือ Sight Bill) ตั๋วแลกเงินที่มีกำหนดเวลา (Time Bill) คือ ตั๋วแลกเงินที่มีการตกลงร่วมกันระหว่างผู้จ่ายและผู้รับ ว่าจะมีการชำระหรือเบิกถอนหลังจากผู้รับได้รับตั๋วแลกเงินแล้วเป็นเวลากี่วัน
         (2) เช็ค (Cheque) ก็เป็นตั๋วแลกเงินลักษณะหนึ่ง แต่ผู้จ่ายเงินเป็นธุรกิจของสถาบันการเงินรูปหนึ่งที่เรียกว่า ธนาคาร ซึ่งเช็คก็คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่าผู้รับเงิน

Bill for Collection (B/C)

เป็นเครื่องมือการชำระเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันว่าเมื่อผู้ขายส่งสินค้าเรียบร้อยแล้ว ผู้ขายจะจัดทำและส่งเอกสารไปเรียกเก็บเงินยังผู้ซื้อโดยผ่านธนาคารของผู้ซื้อ ซึ่งเรียกเครื่องมือการชำระเงินนี้ว่า Bill for Collection (B/C) โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Documents Against Payment (D/P) และ Documents Against Acceptance (D/A) ธนาคารจะเป็นตัวกลางในการเรียกเก็บเงินเท่านั้น จะไม่มีภาระผูกพันเกี่ยวกับการชำระเงินแทนผู้ซื้อ ซึ่งธนาคารสามารถให้บริการแก่ผู้นำเข้าได้

หุ้นกู้ (Bonds) คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินระยะยาวประเภทหนึ่งที่ออกโดยผู้กู้ ซึ่งระบุว่าผู้กู้ ได้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ซื้อ หรือผู้ถือหุ้นกู้
โดยผู้กู้สัญญาว่าจะจ่ายคืนเงินจำนวนดังกล่าวในอนาคต และจ่ายดอกเบี้ยเป็นรายงวดตามวันที่กำหนดไว้ตลอดอายุหุ้นกู้ ผู้ถือหุ้นกู้จะมีสภาพ เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้น

Transport Document

ใบตราส่งสินค้าทางเรือ (Bill of Lading)  
ใบตราส่งสินค้าทางเรือเป็นเอกสารที่มีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ
  • เป็นใบรับสินค้าที่ออกให้โดยสายเดินเรือหรือตัวแทนสายเดินเรือ ที่มีรายละเอียดของสินค้าที่จะทำการขนส่ง
  • เป็นสัญญาการขนส่งระหว่างผู้ส่งสินค้ากับผู้รับขนส่งสินค้า ว่าผู้รับขนส่งจะส่งสินค้าไปยังเมืองท่าปลายทางและจะส่งมอบให้แก่ผู้รับที่ผู้ส่งสินค้าได้ระบุไว้
  • เป็นเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่ขนส่งที่เปลี่ยนมือได้ (Negotiable) ของผู้ทรงสิทธิ์ ซึ่งผู้ทรงสิทธิ์จะใช้ในการขอรับสินค้าที่ท่าเรือปลายทาง หรือจะใช้ในการขายต่อสินค้าให้กับผู้รับซื้อช่วงในระหว่างการขนส่งก็ได้








ข้อความที่สำคัญในใบตราส่งสินค้าทางเรือมีดังนี้
ภาพ:ซื้อขาย.GIF

  • ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (Air Way Bill)
        ใบตราส่งสินค้าทางอากาศเป็นเพียงใบรับสินค้าและสัญญาการขนส่งเท่านั้น







ข้อความที่สำคัญในใบตราส่งสินค้าทางอากาศมีดังนี้







ภาพ:ใบตรา.GIF

  • ใบตราส่งสินค้าที่ใช้กับการขนส่งรวมรูปแบบต่อเนื่องหลายวิธีเข้าไว้ด้วยกัน
        ใบตราส่งสินค้าที่ใช้กับการขนส่งรวมรูปแบบต่อเนื่องหลายวิธีเข้าไว้ด้วยกัน เรียกว่า Multimodal Transport Bill of Lading ใช้สำหรับการขนส่งที่รวมรูปแบบหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น ขนส่งโดยรถยนต์ไปต่อเรือเดินสมุทรแล้วไปต่อเครื่องบินอีกทอดหนึ่งเป็นต้น ใบตราส่งสินค้าแบบ Multimodal Transport Bill of Lading มีรายละเอียดเหมือนกันกับใบตราส่งสินค้าทางทะเลเกือบทั้งหมด







ข้อความที่สำคัญในใบตราส่งสินค้าแบบ Multimodal Transport Bill of Lading มีดังนี้







ภาพ:ขาย.GIF

Air Waybill : ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ ? เป็นใบรับและเป็นสัญญารับขนสินค้าของบริษัทการบิน ออกให้แก่ผู้ส่งออก (Exporter) ซึ่งต่างไปจาก B/L โดย Air Way Bill ไม่ใช่ตราสารแสดงสิทธิของผู้ส่งสาร
Rail Waybill : ใบตราส่งทางรถไฟ ? เป็นใบรับออกโดยการรถไฟหรือตัวแทน (Agent) และมีลายเซ็นของผู้ทำการขนส่ง และตัวแทนลงนามประทับตราและวันที่ออก


Certificate of Posting

การออกหนังสือรับรองภาษาอังกฤษ

ปัจจุบันสรรพากรได้ให้บริการการออกหนังสือรับรองการเสียภาษี และการมีถิ่นที่อยู่เป็นภาษาอังกฤษให้กับผู้เสียภาษี ผู้เสียภาษีสามารถนำหนังสือรับรองเหล่านี้ไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางภาษีในต่างประเทศได้

ประเภทหนังสือรับรองที่ออกให้โดยกรมสรรพากร

1.   หนังสือรับรองการเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (Non – Resident Withholding Tax Certificate)

2.   หนังสือรับรองการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลเป็นภาษาอังกฤษ (Income Tax Payment Certificate)

3.   หนังสือรับรองการมีถิ่นที่อยู่เพื่อการรัษฎากรในประเทศไทย (Certificate of Residence)

4.   หนังสือรับรองการมีสถานภาพเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Statement on the Tax Status of the Business)

5.   หนังสือรับรองการมีสถานภาพเป็นผู้เสียภาษีตามกฎหมายไทย (Certificate of Status of Taxable Person)
ผู้ออ
กหนังสือรับรอง

สำนักงานสรรพากรที่รับผิดชอบในท้องที่ของผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย หรือผู้เสียภาษี ซึ่งได้แก่

          -   สรรพากรภาค

          -   สำนักบริหารผู้เสียภาษีขนาดใหญ่

ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสรรพากรที่ท่านสังกัดตามข้างต้น พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง (ตามประเภทของหนังสือรับรองที่ต้องการ)



Customer Relationship Management (CRM) เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า เรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนมากที่สุด กระบวนการทำงานของระบบ CRM มี 4 ขั้นตอนดังนี้
  1. Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า
  2. Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท
  3. Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว
  4. Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน
มีการนำระบบไอทีมาใช้กับ CRM เพื่อช่วยในการจัดการฐานข้อมูลลูกค้า วิเคราะห์ข้อมูล และเป็นช่องทางในการติดต่อกับลูกค้า โดยสถาปัตยกรรมของซอฟท์แวร์ด้าน CRM มักแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
  1. Operational CRM เป็นซอฟท์แวร์ front office ที่ใช้ช่วยจัดการกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น sales, marketing หรือ service เช่น การจัดการข้อมูลติดต่อลูกค้า การเสนอราคา การบริหารฝ่ายขาย การเก็บข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า ระบบบริการลูกค้า เป็นต้น
  2. Analytical CRM ระบบวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่รวบรวมได้จากส่วน Operational CRM หรือจากแหล่งอื่นๆ เพื่อแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มและค้นหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าหรือบริการเพิ่มเติมได้
  3. Collaborative CRM ระบบช่วยสนับสนุนในการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น ติดต่อส่วนตัว จดหมาย แฟกซ์ โทรศัพท์ เว็บไซต์ อีเมล เป็นต้น รวมถึงช่วยจัดการทรัพยากรที่บริษัทมีคือพนักงาน กระบวนการทำงาน และฐานข้อมูลลูกค้า เพื่อนำไปให้บริการแก่ลูกค้าและช่วยรักษาฐานลูกค้าของบริษัทได้ดีขึ้น
ประโยชน์ของ CRM ต่อธุรกิจของคุณ
CRM ช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น ใช้เว็บไซต์ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า วิธีการใช้สินค้า และให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นช่องทางให้ลูกค้าแนะนำติชมต่อบริการของบริษัทได้ง่าย ช่วยให้ลูกค้าสามารถ customize ความต้องการของตนเองได้ทันที เป็นต้น
CRM ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ดีขึ้น ช่วยให้บริษัทรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้าได้ และช่วยให้บริษัทสามารถให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้าตามที่ลูกค้าต้องการได้ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวจะช่วยเพิ่ม loyalty ที่ลูกค้ามีต่อบริษัท ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด เพิ่มรายได้จากการที่ลูกค้าซื้อซ้ำหรือแนะนำให้คนรู้จักซื้อสินค้าของบริษัท และนั่นหมายถึงกำไรของบริษัทที่เพิ่มมากขึ้น
ดัชนีผลตอบแทนรวม TIR คือ การคำนวณผลตอบแทนทุกประเภทของการลงทุนในหลักทรัพย์ให้สะท้อนออกมาในค่าดัชนี ทั้งผลตอบแทนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหลักทรัพย์ที่ลงทุน (Capital gain/loss) สิทธิในการจองซื้อหุ้น (Rights) ซึ่งเป็นสิทธิที่ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน ซึ่งมักจะให้สิทธิซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด ณ ขณะนั้น และเงินปันผล (Dividends) ซึ่งเป็นส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายให้กับผู้ถือหุ้น โดยมีสมมติฐานเพิ่มเติมว่าเงินปันผลที่ได้รับนี้จะถูกนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ด้วย (Reinvest)

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จัดทำการคำนวณค่าดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์ (SET TRI) ดัชนีผลตอบแทนรวม SET50 (SET50 TRI) ดัชนีผลตอบแทนรวม SET100 (SET100 TRI) ดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai TRI) และดัชนีผลตอบแทนรวมรายอุตสาหกรรม (Industry TRI) รายวัน เพื่อเป็นเครื่องมือเพิ่มเติมสำหรับสะท้อนผลตอบแทนโดยรวมจากการลงทุนในแต่ละกลุ่มหลักทรัพย์ พร้อมกันนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯได้คำนวณอัตราผลตอบแทนรวมรายเดือนของหลักทรัพย์ย้อนหลัง 12 เดือน สำหรับเป็นข้อมูลเพิ่มเติมให้กับผู้ลงทุนที่ต้องการเปรียบเทียบผลตอบแทนการลงทุนเป็นรายหลักทรัพย์
หนังสือรับรองการตรวจสอบสินค้า (Inspection Certificate) เพื่อรับรองคุณภาพของสินค้าว่า ตรงตามคุณสมบัติที่ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
ในขั้นตอนการเจรจาซื้อขายสินค้าระหว่างกันนั้น ผู้ขายควรสอบถามถึงเอกสารที่ผู้ซื้อต้องการล่วงหน้าด้วย เนื่องจากเอกสารบางชนิดจะต้องใช้เวลาในการยื่นขอหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายในการยื่นขอ ผู้ขายจะได้ทราบล่วงหน้าเพื่อคำนวณระยะเวลาให้ทันกับกำหนดการส่งเอกสาร รวมทั้งจะได้สามารถตั้งราคาเผื่อค่าจัดทำเอกสารไว้ล่วงหน้าด้วย

 INSURANCE CERTIFICATE (ใบรับรองการประกันภัย)                    การประกันภัยเป็นส่วนสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ คือสินค้าได้รับการคุ้มครองความเสียหายจากภัยที่เกิดขึ้นจากการขนส่งสินค้าตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง หลักฐานเอกสารที่สำคัญก็คือ สัญญาประกันภัย ที่เรียกว่า กรมธรรม์ เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันตกลงยินยอมประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยผู้เอาประกันจะจ่ายค่าเบี้ยประกันให้ผู้รับประกันตามอัตราที่ตกลงกัน สำหรับสัญญาประกันภัย หรือกรมธรรม์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
                    กรมธรรม์ที่กำหนดมูลค่าของสินค้าในการขนส่งแต่ละเที่ยว ตามมูลค่าสินค้าที่ตกลงซื้อขาย และคิดเพิ่มอีก 10% นั่นเอง สำหรับหลักฐานทางเอกสารที่ออกให้ก็คือ กรมธรรม์ประกันภัย (INSURANCE POLICY)
                    กรมธรรม์เปิด OPEN POLICY OR OPEN COVER หรือจัดให้มีกรมธรรม์ลอยที่เรียกว่า FLOATING INSURANCE หมายถึงการซื้อขายสินค้ารายใหญ่ที่ต้องมีการส่งมอบกันหลายเที่ยว ย่อมไม่สะดวกในการแจ้งบริษัทประกันภัยทุกครั้งที่ส่งไปจึงนิยมใช้แบบกรมธรรม์เปิดหรือกรมธรรม์ลอย และยังเป็นการประหยัดค่าธรรมเนียมพร้อมอากรแสตมป์อีกด้วย ที่สำคัญก็คือ ได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติสำหรับสินค้าที่ส่งไปทุกเที่ยวจนกว่าจะหมดตามสัญญา ดังนั้น สินค้าที่ส่งไปแต่ละเที่ยวบริษัทผู้รับประกันจึงออก หนังสือรับรองประกันภัย INSURANCE CERTIFICATE แทนกรมธรรม์ให้เท่านั้น
                    ใบรับรองการประกันภัย (INSURANCE CERTIFICATE) เป็นเอกสารที่สำคัญในการนำเข้าตามกฎเกณฑ์ของบางประเทศที่ต้องแนบไปด้วย ในเงื่อนไขการซื้อขายของราคา ซี.ไอ.เอฟ. (CIF) เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และบางประเทศในยุโรป เป็นต้น


PHYTOSANITARY CERTIFICATE (ใบรับรองการปลอดโรคและศัตรูของพืชทุกชนิด) เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพืชต่าง ๆ เอกสารชนิดนี้ออกโดยหน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับการรับรองจากนานชาติ สำหรับกรรมวิธีการปฏิบัตินั้นอาจใช้บริการ ศึกษาได้จากหัวข้อ การส่งออก สินค้าเกษตร
CERTIFICATE OF FUMIGATION (ใบรับรองการรมยา) สำหรับสินค้าทุกชนิดที่เป็นผลิตภัณฑ์จากพืช เพื่อเป็นการทายศัตรูพืชทุกชนิดนอกจากนั้น เป็นการทำลายเชื้อราต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการขนส่งสินค้า ดังนั้นกรรมวิธีการรมควันจึงเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุได้อย่างดี
Certificate of Analysis : ใบสำคัญแสดงการวิเคราะห์ ? เป็นเอกสารแสดงการวิเคราะห์ว่าสินค้านั้นๆ มีส่วนผสมอะไรบ้าง และมีสัดส่วนอย่าไร ซึ่งผู้ซื้อ (Importer) จะได้ทราบว่า สินค้ามีส่วนผสมตามความตกลง

SANITARY CERTIFICATE (ใบรับรองการตรวจสอบอาหารที่เป็นของสดหรือแช่แข็ง) ใบรับรองประเภทนี้จะออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์ที่ส่งออกไปปลอดโรคและสิ่งปนเปื้อนที่จะเป็นอัตรายต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดที่ประเทศผู้ซื้อกำหนดด้วย สำหรับหน่วยงานที่มีอำนาจออกหนังสือรับรองประเภทนี้เป็นไปตามส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น สินค้าประเภทสัตว์น้ำจะออกใบรับรองโดย กรมประมง เป็นต้น
ข้อสรุปในการจัดทำเอกสาร-เพื่อการส่งออกควรจัดทำไว้เป็น 2 ชุด
 ชุดที่ 1. ใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากรภายในประเทศ สำหรับสินค้าส่งออก ตามระเบียบของกรมศุลกากรทุกประเภท
  ชุดที่ 2. เป็นชุดที่ต้องจัดส่งไปให้ผู้รับสินค้าปลายทาง หรือผู้ซื้อนั่นเอง ควรทำและจัดหาให้ครบตามที่ผู้ซื้อต้องการ หรือ ถ้าเป็นการขายสินค้าโดยมี แอล.ซี. ต้องตรวจสอบให้ครบถ้วนตามที่ L/C ได้กำหนดไว้ ซึ่งต้องลงรายละเอียดและหาข้อมูลตามเงื่อนไขโดยถูกต้องด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น